เข็มขัดนิรภัยแบบไหนดี
ตามมาตราฐานเข็มขัดนิรภัยของกระทรวงอุตสาหกรรมที่จะนำมาใช้กับรถนั้น ต้องเป็นไปตามประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม ออกเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2530 ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติมาตราฐาน ผลิตภัณฆ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 มี 3 ข้อด้วยกัน คือ
- เข็มขัดนิรภัย คือ อุปกรณ์ที่ใช้ลดความรุนแรงจากอันตรายเนื่องจากอุบัติเหตุ
- เข็มขัดนิรภัยแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ประเภทมีชุดดึงกลับ และ ประเภทไม่มีชุดดึงกลับ
- แบ่งการใช้งานได้ 2 แบบคือ
- แบบยึด 2 จุด คือ ใช้คาดบริเวณรอบสะโพก สำหรับผู้ที่นั่งตอนกลางระหว่างผู้ขับรถและผู้ที่นั่งตอนหน้าแถวเดียวกับผู้ขับรถ
- แบบยึด 3 จุด คือ รัดหน้าตักและรั้งพาดไหล่ คาดรอบสะโพก บริเวณต้นขาและผ่านเฉียงทางหน้าอกและกระดูกไหปลาร้า สำหรับผู้ขับรถและที่นั่งตอนหน้าแถวเดียวกับผู้ขับรถที่อยู่ด้านริมสุด
เข็มขัดนิรภัยที่นิยมใช้ในปัจจุบันจะเป็นแบบมีชุดดึงกลับ เพราะมีที่ม้วนเก็บสายในตัวเมื่อเลิกใช้แล้วสายจะม้วนเก็บเองนอกจากนี้ยังได้เพิ่มชุดล๊อกสายเข็มขัดอัตโนมัต ชุดล๊อกสายนี้จะทำงานเองในจังหวะที่เกิดแรงกระชากสาย (แรงเหวี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุ) ทำให้รั้งตัวผู้นั่งอยู่กับที่ไม่ให้ไปกระแทกกับกระจกลดอันตรายจากการบาดเจ็บของร่างกาย
การติดตั้งเข็มขัดนิรภัย (สำหรับรถรุ่นเก่า) (ทางร้านมีบริการรับติดตั้งสำหรับรถทุกประเภท)
สำหรับรถยนต์ที่ยังไม่มีเข็มขัดนิรภัยถ้าเป็นรถรุ่นใหม่ๆทางผู้ผลิตได้ทำการติดตั้งไว้แล้ว แต่สำหรับรถรุ่นเก่าตัวรถจะไม่มีเข็มขัดนิรภัยติดตั้งมาด้วย หรือ ติดตั้งมาให้เพียงแค่จุดยึดเท่านั้น ในการติดตั้งชุดเข็มขัดนิรภัยนั้น ต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก หากเกิดติดตั้งผิดที่อาจจะเกิดอันตรายจากการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยอย่างไม่ถูกต้องก็เป็นได้
การติดตั้งเข็มขัดนิรภัยเปรียบเสมือนมีผู้คุ้มกันภันในยามคับขันบางทีการนั่งไม่ระวังตัวหรือเผลอหลับถ้าเราคาดเข็มขัดนิรภัยไว้ย่อมทำให้เรามั่นใจในความปลอดภัยไม่มากก็น้อย
การคาดเข็มขัดอย่างถูกวิธี
- การคาดอย่างถูกวิธีนั้นไม่เป็นเรื่องยากเพราะจุดประสงค์ใหญ่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้ง่ายๆ การใช้งานเพียงแค่ดึงสายออกมาจากที่เก็บสาย ลากสายให้ผ่านหน้าตักและไหล นำตัวล็อกไปใส่ที่หัวเข็มขัด ขยับสายเข็มขัดให้รัดตวในท่าสบายๆ ก็เป็นอันเสร็จพิธีการใช้เข็มขัดนิรภัย ส่วนการเลิกใช้งานก็เพียงแค่ปลดตัวล็อคที่หัวเข็มขัดออก สายจะหลุดและออกมาม้วนเก็บเองโดยอัตโนมัต
- สำหรับหญิงมีครรภ์ ควรคาดให้ส่วนที่ยืดพาดตัก พาดผ่านขาทั้งสองข้างและต่ำกว่าครรภ์ของผู้คาด โดยให้อยู่ห่างจากสะโพกให้มากที่สุด ส่วนยืดไหล่ให้พาดผ่านระหว่างกึ่งกลางของลิ้นปี่ และควรจัดวางตำแหน่งของเข็มขัดนิรภัยให้ถูกต้องเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและเด็กในครรภ์
- สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 11 ปี ควรนั่งด้านหลัง ถ้าเป็นทารกควรใส่ตะกร้าหรือเก้าอี้สำหรับเด็กและจะต้องรัดติดกับเบาะหลังให้แน่นด้วยเข็มขัดนิรภัย ไม่ควรอุ้มเด็กไว้กับอกขณะเดินทาง เพราะเมื่อเกิดการเบรกอย่างกะทันหันเด็กอาจจะหลุดมือไปกระแทกกับเบาะข้างหน้าหรือหน้าปัดได้ อาจทำให้เกิดอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
โทษของการไม่คาดเข็มขัดนิรภัย
- ผู้ขับรถยนต์ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย หรือคาดไม่ถูกวิธีในขณะขับรถ มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
- ผู้โดยสารที่นั่งตอนหน้าแถวเดียวกับผู้ขับรถไม่คาดเข็มขัดนิรภัย หรือคาดไม่ถูกวิธีในขณะโดยสาร มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
- ผู้ขับรถจะมีความผิดเสมอหากตนเองและหรือผู้โดยสาร ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยหรือรัดไม่ถูกวิธี กล่าวคือ นอกจากผู้ขับขี่ที่ไม่รัดเข็มขัดนิรภัยจะมีความผิดในส่วนของตนเองแล้วก็ยังจะมีความผิดอีกส่วนหนึ่ง
- ในกรณีที่คนโดยสารที่นั่งตอนหน้าแถวเดียวกับผู้ขับขี่ไม่รัดเข็มขัดนิรภัยหรือรัดไม่ถูกวิธี (เป็นความผิดต่างกรรม ต่างวาระ) ซึ่งมีโทษปรับรวมแล้วไม่เกิน 1000 บาท
- เจ้าของรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ไม่จัดให้มีเข็มขัดนิรภัยเป็นเครื่องอุปกรณ์ไว้กับรถ มีโทษตามมาตรา 5(2) และ 58 ปรับไม่เกิน 1000 บาท
- ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ไม่จัดให้มีเข็มขัดนิรภัยเป็นอุปกรณ์ส่วนควบไว้กับรถ มีโทษตามมาตรา 71 และ 148 ปรับไม่เกิน 50000 บาท
เครดิต: เซียนกระบะ.blogspot, http://skp4.dlt.go.th/knowledge1.html